เป็นปูชนียสถาน วัดพระอารามหลวงที่ประทับสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายคามวาสี โดดเด่นด้วยพระปรางประธานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมพระปรางค์ขนาดกลางเรียงราย และไฮไลท์ของวัดที่นักท่องเที่ยวจะพลาดไม่ได้ คือ เศียรพระพุทธรูปที่ถูกโอบล้อมด้วยรากโพ
วัดมหาธาตุเป็นหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 1917 สมัยขุนหลวงพระงั่ว หรือสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 และมาสร้างแล้วเสร็จในสมัยสมเด็จพระราเมศวร ในปี พ.ศ. 1927 สมเด็จพระราเมศวรทรงอัญเชิญพระบรมสารีรกธาตุไปบรรจุไว้ในพระปรางค์ประธาน
วัดมหาธาตุเป็นวัดพระอารามหลวงและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายคามวาสีมีตำหนักของท่านอยู่ทางทิศตะวันตก วัดมหาธาตุเป็นวัดที่ใช้ประกอบพระราชพิธีทางศาสนาต่างๆ กระทั่งมีการสร้างวัดพระศรีสรรเพชญ์ขึ้น จึงได้ย้ายไปประกอบพิธีกรรมที่วัดพระศรีสรรเพชญ์แทน
ลักษณะเด่นของวัดมหาธาตุคือมีวิหารขนาดใหญ่อยู่ด้านหน้าของวัด พระปรางค์ประธานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่ตรงกลาง ส่วนอุโบสถอยู่ด้านหลัง โดยพระปรางค์ประธานจะเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ ซึ่งแตกต่างจากวัดในสมัยรัตนโกสินทร์ที่จะเปรียบโบสถ์เสมือนเป็นเขาพระสุเมรุ นอกจากนี้แทนที่จะมีกำแพงแก้วรอบโบสถ์กลับมีวิหารคดรอบองค์พระปรางค์ประธานแทน
👀สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด
👉เจดีย์แปดเหลี่ยม นับเป็นสถาปัตยกรรมที่ไม่เคยปรากฏที่ใดในอยุธยา มีแต่ที่วัดมหาธาตุที่นี่ที่เดียว โดยเจดีย์ดังกล่าวเป็นเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยมลดหลั่นกัน มีทั้งหมด 4 ชั้น ต่างจากเจดีย์โดยทั่วไปที่ฐานมักจะเป็นทรงกลมหรือสี่เหลี่ยม
👉ซากพระปรางค์ประธาน พระปรางค์ประธานของวัดมหาธาตุเคยพังลงมาสองครั้ง ครั้งแรกในสมัยพระเจ้าทรงธรรมและได้รับการบูรณะใหม่ในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง และครั้งที่สองคือสมัยรัชกาลที่ 6 ในปีพ.ศ. 2454 แต่ไม่ได้มีการบูรณะใหม่ โดยกรมศิลปากรได้ย้ายพระบรมสารีริกธาตุในพระปรางค์ประธานไปประดิษฐานยังพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499
👉ตำหนักสมเด็จพระสังฆราช ปัจจุบันเป็นลานกว้างอยู่ทางทิศตะวันตกของวัด ในเอกสารของราชทูตลังกาได้บันทึกถึงความวิจิตรอลังการเอาไว้ว่าองค์ตำหนักทำจากไม้สลักลวดลายงดงามและปิดทอง ม่านกรองทอง (ใช้เส้นทองทอเป็นม่านโปร่ง) ภายในแขวนอัจกลับ ซึ่งอัจกลับก็คือกลุ่มเชิงเทียนทองเหลืองระย้าสำหรับแขวนเพดาน สามารถปักเทียนได้ดั้งแต่ 30-100 เล่ม ขึ้นกับขนาดของอัจกลับ (https://www.talontiew.com/wat-mahathat-ayutthaya/)
วัดพนัญเชิงวรวิหารเป็นวัดอารามหลวง ชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตามพงศาวดารเหนือกล่าวว่าวัดพนัญเชิงสร้างขึ้นโดยพระเจ้าดวงเกรียงกฤษณราช หรือพระเจ้าสายน้ำผึ้ง ไม่ทราบปีที่สร้าง แต่พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์กล่าวว่าพระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระราชนัดดา (หลานปู่) ในพระเจ้าสายน้ำผึ้ง โปรดฯ ให้สร้างพระพุทธเจ้าพแนงเชิงขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1867 ซึ่งนั่นเป็นสมัยสุโขทัย และเป็นเวลาก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาถึง 26 ปี
นอกจากประวัติศาสตร์อันยาวนานของวัดพนัญเชิงแล้วยังมีตำนานการสร้างวัดที่ไม่ธรรมดา ดังที่จะได้เล่าในส่วนของตำหนักนางสร้อยดอกหมากต่อไป
👉พระไตรรัตนนายก (พระพุทธเจ้าพแนงเชิง)
พระไตรรัตนนายกเป็นพระประธานของวัดพนัญเชิง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอยุธยา โดยมีความสูง 19 เมตร และมีหน้าตัก 20 เมตร ชาวบ้านจึงเรียกกันว่าหลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง
พระไตรรัตนายกเดิมมีชื่อว่า พระพุทธเจ้าพแนงเชิง โดยคำว่า ‘พแนงเชิง’ หมายถึง การนั่งขัดสมาธิ แต่ในบางตำนานเล่าว่าเป็นชื่อที่เพี้ยนมากจากคำว่า ‘พระนางเชิญ’ ตามตำนานการเชิญพระนางสร้อยดอกหมากขึ้นจากเรือ ต่อมาในปี พ.ศ. 2349 รัชกาลที่ 4 โปรดฯ ให้บูรณะใหม่และพระราชทานนามว่าพระไตรรัตนายก สำหรับชาวจีนมักเรียกท่านว่าหลวงพ่อซำปอกง (三寶公) โดยคำว่า ซำ (三) แปลว่าสาม, ป้อ (寶) คือ แก้ว และ กง (公) เป็นคำยกย่องบุคคลเพศชาย ซำปอกงจึงเป็นการแปลคำว่าพระไตรรัตนนายกเป็นภาษาจีนนั่นเอง นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2397 ในหลวงรัชกาลที่ 4 ถวายพัดยศแฉกลายทอง รูปกลีบพุ่มข้าวบิณฑ์ ตั้งประดับอยู่หน้าองค์พระอีกด้วย
หลังจากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เกิดไฟไหม้ผ้าที่ห่มองค์พระจนเห็นรอยร้าวบนองค์พระหลายแห่ง ในหลวงรัชกาลที่ 5 จึงโปรดให้บูรณะ หลังจากนั้นเสด็จไปปิดทองด้วยพระองค์เองและโปรดฯ ให้มีการจัดงานสมโภชขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 7 พระหนุ (คาง) ของพระไตรรัตนนายกได้พังลงมา เกิดเป็นช่องโหว่ลึกถึงพระปรางทั้งสองข้าง จึงต้องบูรณะอีกครั้ง ในการบูรณะซ่อมแซมครั้งนี้ได้เปลี่ยนพระอุณาโลมจากแต่เดิมที่เป็นทองแดงล้วนให้เป็นทองคำด้วย
ตำหนักพระแม่สร้อยดอกหมากเป็นเก๋งจีน สร้างด้วยสถาปัตยกรรมจีนทั้งหลัง ว่ากันว่าพระแม่สร้อยดอกหมาศักดิสิทธิ์มาก ใครขอพรใดๆ มักได้สมประสงค์ วันเวลาที่น่าเที่ยวมากที่สุดคือวันเกิดพระแม่สร้อยดอกหมากซึ่งจะจัดติดต่อกัน 4 วันในเดือนเมษายน และมีงิ้วมาแสดงหลายคณะ
https://www.talontiew.com/wat-phanan-choeng/
✿*゚‘゚・✿. *.:。✿*゚’゚・•*.:。✿✲-•(¯`°•.★* *★ .°¯)*¤°•★ •::* 。✿*゚¨゚✎・ ✿.
👀วัดใหญ่ชัยมงคล (Wat Yai Chaimongkol)😉
วัดใหญ่ชัยมงคลเดิมชื่อวัดป่าแก้วสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1900 ตามตำนานเล่าว่าเมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าอู่ทองปลงพระศพเจ้าแก้ว ทรงสร้างวัดป่าแก้วขึ้นในที่ปลงศพ เชื่อกันว่าพระอุโบสถวัดป่าแก้วเป็นที่อ
👉สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด
ที่วัดใหญ่ชัยมงคลมีพระนอนองค์ใหญ่อยู่ภายในวิหารพระไสยาสน์ แม้วิหารจะผุพังไปตามกาลเวลาเหลือเพียงผนังและเสาบัวกลุ่ม แต่องค์พระได้รับการบูรณะเป็นอย่างดี พระนอนองค์นี้เป็นพระพุทธรูปปางทรงพักผ่อนพระอิริยาบถ เพราะทรงลืมพระเนตร พระเศียรหนุนหมอน และไม่มีหมอนรองใต้พระกัจฉะ (รักแร้) นับเป็นพระพุทธรูปองค์เดียวในวัดใหญ่ชัยมงคลที่สื่อถึงการพักผ่อน เพราะองค์อื่นๆ อยู่ในปางมารวิชัยซึ่งแสดงพุทธประวัติช่วงที่พระพุทธองค์ทรงมีชัยชนะเหนือมาร
😉ตำหนักสมเด็จพระเนรศวรมหาราช
อยู่ด้านหลังวัดใหญ่ชัยมงคล เริ่มสร้างปี พ.ศ. 2535 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2544 โดยรอบตำหนักมีไก่ชนปูนปั้นมากมายเพราะเชื่อกันว่าพระองค์ท่านโปรดไก่ชน ทางเข้าอฃค์พระตำหนักมีรูปปั้นช้างทรงประจำอยู่ ภายในมีพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเนรศวรทรงหลั่งทักษิโณทก เพื่อเป็นการระลึกถึงเมื่อครั้งที่พระองค์ท่านทรงประกาศอิสรภาพ ตำหนักแห่งนี้มีขนาดใหญ่ มีน้ำล้อมรอบ ร่มรื่นและสวยงามสมพระบารมี จึงนับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่เมื่อมาถึงวัดใหญ่ชัยมงคลแล้วจะพลาดไม่ได้
😉ศาลเจ้าพ่อสิทธิชัย
ศาลเจ้าพ่อสิทธิชัยเป็นศาลไม้สักทองทั้งหลัง เชื่อกันว่าดวงพระวิญญาณของพระราชโอรสในพระครรภ์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์หรือพระนางเรือร่ม มเหสีองค์ที่ 5 ในรัชกาลที่ 5 สถิตอยู่ที่นี่ ซึ่งในขณะนั้นทารกมีอายุในครรภ์ 5 เดือน ศาลเจ้าพ่อสิทธิชัยมีความศักดิสิทธิมาก ชาวอยุธยาเชื่อว่าไม่ว่าบนบานสานกล่าวอะไรก็ได้สมความประสงค์ทุกอย่างธิษฐานเสี่ยงทายของพระเฑียรราชาว่าจะลาสิกขาจากสมณเพศและขึ้นครองราชย์หรือไม่ ในสมัยสมเด็จพระเนรศวรมหาราช หลังจากที่ทรงชนะการทำยุตหัตถีกับพระมหาอุปราช สมเด็จพระเนรศวรมหาราชจึงโปรดให้สร้าง ‘เจดีย์ชัยมงคล’ ภายในบรรจุพระชัยมงคลคาถา ขึ้นที่วัดป่าแก้วเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะเหนือทัพพม่า อีกทั้งยังพระราชทานชื่อวัดเสียใหม่ว่า ‘วัดใหญ่ชัยมงคล’ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงสันนิษฐานว่าแม้แต่พระบรมอัฐิพระเนรศวรมหาราชก็น่าจะอยู่ในเจดีย์แห่งนี้ด้วย
https://www.talontiew.com/wat-yai-chai-mongkhon/
✿*゚‘゚・✿.。.:*.:。✿*゚’゚・•*.:。✿✲-•(¯`°.•°•.★* *★ .•°•.°´¯)*¤°•★ •:。.:* *.:。✿*゚¨゚✎・ ✿.
👀วัดไชยวัฒนาราม(Wat Chai Watthanaram)😉
เป็นวัดหลวงที่บำเพ็ญพระราชกุศลและที่ถวายพระเพลิงเจ้านายทุกพระองค์ แม้แต่พระอัฐิเจ้าฟ้ากุ้งก็ถูกเก็บรักษาไว้ที่นี่ วัดเดียวที่สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงชัยชนะเหนืออาณาจักรขอม ผังวัดจำลองมาจากนครวัด และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อปี พ.ศ. 2535
วัดไชยวัฒนารามหรือวัดไชยวัฒนาราม สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2173 พระเจ้าประสาททองทรงดำริสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นพระราชกุศลแด่พระราชมารดา เพราะที่แห่งนี้เคยเป็นที่ประทับของพระราชมารดามาก่อน อย่างไรก็ดีนักวิชาการหลายท่านกลับเห็นว่ามีโอกาสเป็นไปได้สูงที่วัดชัยวัฒนารามจะถูกสร้างขึ้นเพื่อรำลึกว่าครั้งหนึ่งอยุธยาเคยกำชัยชนะเหนือเมืองละแวก เมืองหลวงของอาณาจักรเขมร เพราะ
- วัดไชยวัฒนารามจำลองรูปแบบมาจากนครวัด
- เดิมวัดไชยวัฒนารามมีชื่อว่าวัดชัยชนะอารามเมืองละแวกถูกพระเนรศวรมหาราช พระปิตุลา (ลุง) ของพระเจ้าปราสาททองตีแตกในปี พ.ศ. 2136 จนสมเด็จพระสัตถากษัตริย์เขมรต้องหนีไปอยู่ล้านช้าง กระทั่งสมเด็จพระรามเชิงไพรรวบรวมคนขับไล่ทัพสยาม สมเด็จพระเนรศวรทรงส่งพระมหามนตรีไปทำศึกแต่พ่ายแพ้ เป็นเหตุให้เขมรประกาศอิสรภาพอีกครั้งในปี พ.ศ. 2138
- พระเจ้าปราสาททองทรงเคยรับราชการในตำแหน่งเจ้าพระยากลาโหม จึงเป็นไปได้ว่าจะทรงภูมิใจกับการที่อยุธยามีชัยเหนือเขมรในครั้งนั้น นับแต่สร้างวัดขึ้นมา วัดชัยวัฒนารามก็เป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลของกษัตริย์ทุกพระองค์และเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงกษัตริย์ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์อีกด้วย นอกจากนี้วัดชัยวัฒนารามยังมีอีกหนึ่งความสำคัญคือ วัดแห่งนี้เป็นที่มาของพระนามสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง แต่เดิมเมื่อครั้งขึ้นเสวยราชสมบัติ พระองค์ท่านทรงเฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระเอกาทศรถอิศวรบรมนาถบรมบพิตร (พระนามเดียวกับพระราชบิดา) แต่หลังจากที่สร้างวัดชัยวัฒนารามแล้ว เนื่องจากยอดของปรางค์ประธานเปรียบเสมือนที่สถิตของปราสาทไพชยนต์วิมานตามคติความเชื่อแบบขอม อีกทั้งยังปิดทองทั่วทั้งองค์ ผู้คนจึงเรียกปรางค์ประธานของวัดชัยวัฒนารามว่า ‘’ปราสาททอง” และเรียกพระเจ้าอยู่หัวผู้โปรดให้สร้างปราสาททองนี้ว่าสมเด็จพระเจ้าปราสาททองด้วย
วัดไชยวัฒนารามเป็นหนึ่งในวัดที่ถูกเผาทำลายเมื่อครั้งเสียกรุงครั้งที่ 2 ต่อมาเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2474 วัดชัยวัฒนารามได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ และในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2535 วัดชัยวัฒนาราม ก็ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
👉สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด
😉ปรางค์ประธาน พระปรางค์ประธานมีชื่อว่า “พระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุ” ปัจจุบันแม้พังทลายลงมาแล้ว แต่ก็ยังคงมีร่องรอยแห่งความยิ่งใหญ่ให้เห็นกันอยู่
😉เจดีย์บรรจุพระอัฐิเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ (เจ้าฟ้ากุ้ง) เมื่อขับรถมาตามถนน 3469 จะพบเจดีย์ดังกล่าวก่อนถึงซากโบสถ์และปรางค์ประธาน โดยเจ้าฟ้ากุ้งทรงเป็นยอดกวีของไทยพระองค์หนึ่งที่คนรุ่นใหม่หลายคนรู้จัก เมื่อไปถึงแล้ว ก็ควรจะแวะสักการะสักนิด
https://www.talontiew.com/wat-chaiwatthanaram/
👉วัดพุทไธศวรรย์(Wat Phutthai Sawan) 😉
วัดพระอารามหลวงสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวงอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 9 วัดอันเป็นที่ระลึกการสร้างเมืองของสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ชมพระปรางค์ประธานที่ประดิษฐานเดิมของเทวรูปพระเจ้าอู่ทองแห่งหอพระเทพบิดร วัดพระแก้ว และพระพุทธไธศวรรย์ พระนอนที่มีลักษณะไม่เหมือนที่ใดในอยุธยา
ก่อนที่สมเด็จพระเจ้าอู่ทองจะสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ทรงเคยเสด็จมาตั้งพลับพลาอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา นอกเกาะเมืองถึง 3 ปี จึงเคลื่อนพลไปหนองโสน (บึงพระรามในปัจจุบัน) พระราชพงศาวดารจารึกว่าบริเวณนี้เรียกว่า ‘เวียงเล็ก’ หรือ ‘เวียงเหล็ก’ หลังจากที่ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 1893 แล้วจึงสร้างวัดพุทไธศวรรย์ขึ้นในปี พ.ศ. 1896 บริเวณที่พระองค์ท่านเคยตั้งพลับพลา เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์การตั้งกรุงศรีอยุธยา
วัดพุทไธศวรรย์เป็นหนึ่งในวัดอารามหลวง หลังจากสมัยสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง วัดได้ถูกก่อสร้างเพิ่มเติมตลอดมา ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาล้อมพระนคร ก็ตั้งทัพที่วัดพุทไธศวรรย์ เพราะฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาคือเกาะเมือง วัดจึงมีชัยภูมิที่ดีเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาสมเด็จพระเจ้าเสือ พระราชบุตรในพระเจ้าเสือก็ทำพิธีโสกันต์และบวชเป็นสามเณร กระทั่งบวชเป็นภิกษุที่วัดพุทไธศวรรย์
วัดพุทไธศวรรย์มีความสำคัญมาก ถึงขนาดที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดให้นำราชทูตสิงหล (สังขัณฑนคร หรือที่ไทยเรียกว่าลังกา) ไปกราบพระปรางค์ที่วัดพุทไธศวรรย์
เมื่อครั้งเสียกรุงครั้งที่ 2 วัดพุทไธศวรรย์ไม่ได้ถูกเผาทำลายจึงมีสภาพสมบูรณ์มาจนถึงปัจจุบัน และเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จมาทอดกฐินโดยพระยุหยาตราชลมารคอีกด้วย
กรมศิลปากรได้ประกาศให้วัดพุทไธศวรรย์เป็นโบราณสถานในเดือนมีนาคม 2578 และได้รับการสถาปนาเป็นพระอารารมหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2549 เนื่องในวโรกาสพัชราภิเษกสมโภช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 (ครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี)
👉สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด😉
😉พระปรางค์ประธาน เป็นพระปรางค์ศิลปะลพบุรีที่ได้รับอิทธิพลมาจากขอม ในจดหมายเหตุราชทูตลังกา (สิงหล) บันทึกไว้ว่าภายในพระปรางค์เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริธาตุ มีการสร้างห้องเพื่อให้เดินประทักษิณ (เวียนขวา) รอบพระบรมสาริรกธาตุได้
อันที่จริงมีพระรูปพระเจ้าอู่ทองอยู่ที่มุขด้านหนึ่งของปรางค์ประธาน พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเทพพลภักดิ์ ซึ่งขณะนั้นทรงบัญชาการกรมพระคชบาลอยู่ (กรมพระคชบาลปัจจุบันคือวังช้าง แล เพนียด) ทรงเสด็จออกเพนียดและพบพระรูปดังกล่าวจึงนำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1 พระองค์ท่านจึงโปรดให้อัญเชิญพระรูปมาหล่อดัดแปลงใหม่เป็นพระพุทธรูป มีนามว่า ‘เทวรูปพระเจ้าอู่ทอง’ ประดิษฐานอยู่ที่หอพระเทพบิดรในวัดพระแก้ว
😉ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์ พระพุทธโฆษาจารย์คือพระราชาคณะฝ่ายคามวาสีฝ่ายขวา เทียบได้กับเจ้าคณะใหญ่คณะเหนือและคณะกลางในสมัยรัตโนโกสินทร์ ภายในตำหนักมีจิตกรรมฝาผนังศิลปะอยุธยาตอนปลาย ผนังทิศเหนือเป็นภาพวาดเรื่องไตรภูมิพระร่วง ทิศใต้เรื่องมารผจญ ทิศตะวันออกเป็นภาพพระพุทธบาททั้ง 5 และทิศตะวันตกเป็นภาพทศชาติ
😉วิหารพระพุทไธศวรรย์ ซากวิหารโบราณ ภายในประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์นาม ‘พระพุทไธศวรรย์’ อายุ 300 กว่าปี สันนิษฐานว่าเป็นปางปรินิพพานแบบลืมพระเนตร เพราะพระหัตถ์ทอดไปกับหมอน ไม่ได้ตั้งขึ้นรับพระพักตร์เหมือนปางพักผ่อนอิริยาบถและไม่ได้มีหมอนรองใต้รักแร้เหมือนปางโปรดอสุรินทราหู ที่น่าแปลกคือปางปรินิพพานแบบลืมพระเนตรนี้นิยมในพม่า พบประปรายในตอนเหนือของไทย แต่ไม่ค่อยพบในอยุธยา เพราะพระปรางปรินิพพานของไทยจะเป็นแบบหลับพระเนตรเสียส่วนใหญ่
😉สถานที่น่าสนใจอื่นๆ ภายในวัดมีสถานที่ที่น่าเที่ยวชมมากมาย เช่น ศาลจตุคามรามเทพ, พระบรมราชานุสาวรีย์ 3 กษัตริย์ ได้แก่ พระเนศวรมหาราช พระเจ้าอู่ทอง และพระเอกาทศรถ, วิหารพระทรงธรรม และวิหารพระสังกัจจายนะ
👉วัดพระศรีสรรเพชญ์(Wat Phra Si Sanphet)😉
เป็นวัดหนึ่งเดียวของอยุธยาที่อยู่ในเขตพระราชฐาน วัดประจำพระราชวัง ต้นแบบวัดพระแก้ว วัดพระศรีสรรเพชญ์มีจุดเด่นคือเจดีย์ 3 องค์เรียงตัวกันอยู่กลางวัด แต่ละองค์บรรจุพระบรมอัฐิธาตุของกษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ อีกทั้งยังมีอีกหนึ่งซากร่างแห่งความยิ่งใหญ่ทางวัฒนธรรม นั่นคือ วิหารหลวง สถานที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญ
วัดพระศรีสรรเพชญ์เป็นวัดที่พระบรมไตรโลกนาถโปรดฯ ให้สร้างขึ้น แต่เดิมเป็นพระราชมณเฑียรที่ประทับของพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ต่อมาพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างพระราชมณเฑียรขึ้นใหม่ทางด้านแม่น้ำลพบุรี จึงทรงนำที่ดินของพระราชมณเฑียรเดิมไปสร้างเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์เพื่อประกอบพระราชพิธีทางศาสนา วัดพระศรีสรรเพชญ์เป็นวัดี่อยู่ในเขตพระราชฐานหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวัดประจำพระราชวัง จึงไม่มีพระจำพรรษาอยู่ และวัดพระศรีสรรเพชญ์ก็เป็นแบบอย่างของวัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้วในปัจจุบันด้วย
เนื่องจากวัดพระศรีสรรเพชญ์ถูกพม่าเผาทำลายจนเหลือแต่ซากปรักหักพังเมื่อครั้งเสียกรุงครั้งที่ 2 ต่อมาในสมัยจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม ได้บูรณะเจดีย์ 3 องค์ของวัด เจดีย์จึงมีสภาพครบถ้วนด้วยศิลปะอยุธยาอย่างในปัจจุบัน
😉สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด
😉เจดีย์ทรงลังกา 3 องค์ เจดีย์ 3 องค์ที่วางเรียงกันจากทิศตะวันออกไปตะวันตกนี้เป็นจุดเด่นของวัด โดยเจดีย์ทั้ง 3 องค์นี้ เป็นเจดีย์ทรงลังกาแบบอยุธยาซึ่งแตกต่างจากเจดีย์ทรงลังกาแบบสุโขทัย ตรงบริเวณที่เรียกว่าบัวถลา แม้บัวจะหงายออกเหมือนกัน แต่ของอยุธยาจะมีเสารอบบัว ส่วนของสุโขทัยบัวจะเรียบ เจดีย์ทั้ง 3 องค์ดังกล่าวได้แก่
😉เจดีย์ทางด้านทิศตะวันออก เป็นเจดีย์ที่บรรจุพระบรมอัฐิในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชบิดาในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
😉เจดีย์องค์กลาง เป็นเจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พระบรมเชษฐาในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2เจดีย์ทางทิศตะวันออกและองค์กลาง สร้างโดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ในปีพ.ศ. 2035
😉เจดีย์ทางด้านทิศตะวันตก เป็นเจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 สร้างขึ้นโดยพระบรมราชิราชที่4 (สมเด็จพระหน่อพุทธางกูร)
เจดีย์ทั้ง 3 ได้รับการบูรณะสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ปัจจุบันจึงอยู่ในสภาพดี ทั้งฐานเชียง ฐานปัทม์ บัวถลา บัวปากระฆัง เรือนธาตุ บัลลังก์ และก้านฉัตร ทุกส่วนสมบูรณ์พร้อมด้วยศิลปะอยุธยา สำหรับผู้ที่ศึกษาศิลปะโบราณจึงควรไปดูองค์จริงให้เห็นกับตาสักครั้ง
😉วิหารหลวง วิหารหลวงเป็นที่ประกอบพระบรมราชพิธีทางศาสนา เช่น พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒสัตยา สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2042ภายในมีพระศรีสรรเพชญดาญาณประดิษฐานอยู่ โดยพระศรีสรรเพชญดาญาณ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2043 เป็นพระพุทธรูปสำริดสีดำ ปางยืนยกพระหัตถ์ขวา หุ้มด้วยทองคำหนัก 347.776 กิโลกรัม เมื่อครั้งสมครามช้างเผือก พระศรีสรรเพชญดาญาณถูกทหารหงสาวดีตัดพระกร และได้รับการบูรณะในสมัยใดสมัยหนึ่งก่อนพระเจ้าปราสาททอง หลังจากการเสียกรุงครั้งที่ 2 วิหารหลวงถูกเผาทำลายจนเหลือแต่เพียงซากปรักหักพัง ทองทั้ง 300 กว่ากิโลกรัม บนองค์พระศรีสรรเพชญดาญาณถูกลอกออกไป แต่องค์สำริดของท่านยังคงอยู่ ปัจจุบันท่านประดิษฐานอยู่ที่เจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ในกรุงเทพฯ โดยรัชกาลที่ 1 โปรดให้อัญเชิญมาจากซากวิหารหลวงนั่นเอง
✿*゚‘゚・✿.。. *.:。✿*゚’゚・•*.:。✿✲-•(¯`°.•°•.* *★ .•°•.°´¯)*¤°•★ •:。 *.:。✿*゚¨゚✎・ ✿.
👉วัดโลกยสุธาราม (Wat Lokayasutharam)😊
: วัดที่ไม่มีใครทราบประวัติแน่ชัดแต่ได้รับการสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น บนพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา ที่ประดิษฐานพระนอนปางพักผ่อนพระอิริยาบถที่ใหญ่ที่สุดในเกาะเมือง ร่วมกิจกรรมงานบุญประจำปีห่มผ้าพระนอนในเทศกาลสงกรานต์ และปิดทองพระนอนองค์จำลอง พร้อมชมพระปรางค์โบราณทรงฝักข้าวโพด
วัดโลกยสุธารามตั้งอยู่บนเกาะเมือง ในพื้นที่มรดกโลก ประวัติของวัดไม่แน่นอน แต่จากสถาปัตยกรรมและศิลปะภายในวัด กรมศิลปากรสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในยุคกรุงศรีอยุธยาตอนต้น อาจเป็นช่วงรัชสมัยสมเด็จพระนครินทราธิราช พระราชบิดาของเจ้าสามพระยา เล่ากันว่าแต่เดิมวัดนี้มีชื่อว่าวัดสุทธาวาส ต่อมาในช่วงอยุธยาตอนปลาย ผู้คนเรียกขานกันว่าวัดโลกสุธา หลังจากเสียกรุงครั้งที่สองแล้วมีหลักฐานปรากฏว่าผู้คนเรียกวัดนี้ว่าวัดโลกยสุธา เมื่อพระยาโบราณราชธานินทร์เข้ามาสำรวจจึงบันทึกชื่อวัดร้างแห่งนี้ว่าวัดโลกยสุธาราม โดยคำว่า ‘โลกย’ มาจากคำว่า ‘โลกิยะ’ หมายถึง ของโลก ‘สุธา’ มีความหมายว่าน้ำอมฤต และ ‘อาราม’ หมายถึงวัด โลกยสุธารามจึงหมายถึงวัดที่เปรียบเสมือนน้ำอมฤตของโลก
วัดโลกยสุธารามทรุดโทรมมากมีเพียงพระปรางค์ประธานและพระนอนเท่านั้นที่โดดเด่น ส่วนโบสถ์ กำแพงแก้ว และวิหารหลวง วิหารราช วิหารราย หอระฆัง ระเบียงคด และเจดีย์ฐาน 8 เหลี่ยม ล้วนพังลงมาหมดแล้ว เหลือเพียงฐานเท่านั้น
สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด
- พระนอน พระนอนในลักษณะสีหไสยาสน์ของวัดโลกยสุธารามเป็นพระนอนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเกาะเมืองอยุธยา โดยมีความยาว 42 เมตร สูง 8 เมตร พระนอนแห่งวัดโลกยสุธารามนี้ เป็นพระปางพักผ่อนอิริยาบถ มีพุทธลักษณะคือพระเศียรหนุนอยู่บนพระเขนย (ซึ่งในที่นี้คือดอกบัว) พระหัตถ์เท้าพระเศียร ซึ่งแตกต่างจากปางทรงสุบินตรงที่ปางทรงสุบิน พุทธลักษณะคืองอข้อพระกร หลังพระหัตถ์จรดพระปราง และแตกต่างจากปางโปรดอสุรินทราหู ตรงที่ปางโปรดอสุรินทราหูจะต้องมีพระเขนยรองใต้พระกัจฉะ (รักแร้) พระนอนแห่งวัดโลกยสุธารามได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2399 จากรูปถ่ายก่อนการบูรณะทำให้เห็นว่า ท่านเป็นพระพุทธรูปที่ไม่มีการทรงเครื่องกษัตริย์ พระพักตร์สี่เหลี่ยมคล้ายศิลปะอู่ทองตอนต้น แต่เมื่อมีการบูรณะแล้วได้เพิ่มกรอบหน้าเข้าไป ท่านจึงกลายเป็นพระทรงเครื่องน้อยดังเช่นในปัจจุบัน เนื่องจากรอบองค์พระมีเสาอิฐ 8 เหลี่ยม จำนวน 24 ตัน จึงสันนิษฐานได้ว่าแต่เดิมพระนอนอยู่ในวิหาร มีแต่วิหารได้พังทลายลง ต่อมาในปีพ.ศ. 2532 ได้มีการบูรณะพระนอนครั้งที่ 2 โดยคุณหญิงระเบียบ ธำรงนาวาสวัสดิ์ และครอบครัว ได้จัดให้มีการบูรณะเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ นายธำรง และพล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี
- พระนอนวัดโลกยสุธารามเป็นที่เคารพนับถือของชาวอยุธยาและผู้คนจากทั่วสารทิศ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจจะไปกราบสักการะท่าน มีกิจกรรมดีๆ 2 กิจกรรมที่คุณไม่ควรพลาด
- ร่วมกิจกรรมงานบุญประจำปีห่มผ้าพระนอน งานบุญประจำปีนี้จัดขึ้นในเดือนเมษายน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยชาวบ้านและนักท่องเที่ยวจะยืนเรียงแถวหน้ากระดานหน้าองค์พระ ร่วมกันเชิญผ้าขึ้นเทิดเหนือศีรษะแล้วชักขึ้นไปจากปลายพระบาทกระทั่งห่มคลุมพระองค์ เป็นที่สวยงามน่าชมเป็นอย่างยิ่ง
- ปิดทององค์จำลอง เนื่องจากไม่อนุญาตให้ปิดทองที่องค์พระ จึงมีการทำพระนอนจำลองขนาดเล็กไว้บริเวณหิ้งสำหรับจุดธูปเทียนลายดอกไม้สักการะ หลังจากที่กราบพระองค์จริงเสร็จแล้ว นักท่องเที่ยวสามารถปิดทองคำเปลวลงบนพระนอนองค์จำลองได้พระปรางประธาน พระปรางค์ประธานตั้งอยู่บริเวณกลางวัด หันหน้าไปทางทิศตะวันออก องค์ปรางค์ทรงฝักข้าวโพดตั้งอยู่บนฐานเขียง 3 ชั้น ไม่มีนภศูลเหลือให้เห็น มีเพียงเรือนธาตุและซุ้มประตูเท่านั้นที่ยังชัดเจน ด้านหลังขององค์ปรางค์มีฐานพระอุโบสถที่ตั้งอยู่ https://www.talontiew.com/wat-lokayasutharam/
゚‘゚・✿.。*.:。✿*゚’゚・•*.:。✿✲-•(¯`°.•°•.★* *★ .•°•.°´¯)*¤°•★ •:。.:* *.:。✿*゚¨゚✎・ ✿.
👉วิหารมงคลบพิตร(Wihan Phra Mongkhon Bophit)😊
: ที่ประดิษฐานพระมงคลบพิตร พระคู่บ้านคู่เมืองที่มีประวัติซับซ้อนยาวนาน สัญลักษณ์การรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางในสมัยสมเด็จพระบรมโตรโลกนาถ หลังจากได้รับการบูรณะด้วยปูนทาสีดำทั้งองค์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชทรงดำริให้หุ้มทองคำดังปัจจุบันพระมลคลบพิตรจะสร้างขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฏ มีแต่ข้อสันนิษฐานแตกต่างกันไปว่า
- สร้างขึ้นในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ เดิมประดิษฐานอยู่ที่ทิศตะวันออกของพระราชวังหลวง
- สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระไชยราชา (หลังสมเด็จพระบรมโตรโลกนาถ 46 ปี)ประดิษฐานอยู่กลางแจ้งที่วัดชีเชียง ห่างจากวิหารปัจจุบันไป 200 เมตร
ตามเอกสารภาพวาดของชาวตะวันตก ในปี พ.ศ. 2146 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดให้ชะลอพระมงคลบพิตรมาไว้ทางทิศตะวันออกของพระราชวังหลวงแล้วสร้างวิหารทรงมณฑปครอบไว้ ลักษณะคล้ายมณฑปพระพุทธบาทสระบุรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2246 สมัยสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือ พระเจ้าเสือ ฟ้าผ่ามณฑปหักถูกพระเศียรชำรุดบางส่วน พระเจ้าเสือจึงโปรดให้ซ่อมพระเศียรและสร้างวิหารครอบองค์พระ โดยคงยอดมณฑปเอาไว้ จากนั้นก็มีการปฏิสังขรณ์อีกครั้งในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ โดยสร้างหลังคาคล้ายในปัจจุบันขึ้น
ในช่วงเสียกรุง พระวิหารมลคลบพิตรและองค์พระเสียหายอย่างหนัก ต่อมาคุณหญิงอมเรศร์สมบัติภรรยาของพระยาอมเรศร์สมบัติ (ต่วน ศุขะวะนิช) เจ้ากรมกองผลประโยชน์ พระคลังข้างที่ มีความศรัทธาในพระมงคลบพิตรเป็นอย่างมาก จึงได้ยื่นเรื่องขอบูรณะพระวิหารขึ้นในปี พ.ศ. 2474 ผ่านกรมศิลปากรซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทะการเป็นอธิบดีอยู่ในขณะนั้น แต่รัฐบาลไม่อนุญาตเนื่องจากต้องการออกแบบให้เป็นพระพุทธรูปกลางแจ้งเหมือนไดบุซึของญี่ปุ่น คุณหญิงได้ยื่นเรื่องใหม่ถึง 4 ครั้ง จนปี พ.ศ. 2480 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงออกแบบพระวิหารให้ ในปี พ.ศ.2498 ฯพณฯ ท่านอู้นุ นายกรัฐมนตรีคนแรกของพม่าได้มอบเงิน 200,000 บาทเพื่อบูรณะวิหารมงคลบพิตร สุดท้ายในปี พ.ศ. 2499 ซึ่งเป็นสมัยของจอมพล ป.พิบูลสงคราม จึงมีการสร้างพระวิหารมงคลบพิตรตามแบบที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ได้ทรงออกแบบขึ้น โดยรัฐบาลไทยได้สมทบงบประมาณเพิ่มเข้าไปอีก 250,000 บาท
ในปี พ.ศ. 2500 กรมศิลปากรได้บูรณะองค์พระมงคลบพิตร พบพระพุทธรูปสำริดจำนวนมากบรรจุไว้ที่พระอุระด้านขวาและพระพาหาด้านซ้ายจึงนำมาเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยาและจันทรเกษม โดยอาจแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่คือ
- พระพุทธรูปศิลปะล้านนา
- พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย
- พระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง
- พระพุทธรูปศิลปะอยุธยา
- พระพุทธรูปศิลปะอยุธยาสกุลช่างนครศรีธรรมราช (แบบขนมต้ม)
เชื่อกันว่าการรวบรวมพระพุทธรูปจากหัวเมืองต่างๆ ไว้ในพระพุทธรูปองค์เดียวกัน เป็นการแสดงถึงการรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โดยมีความหมายว่าแต่นี้ไปหัวเมืองต่างๆ จะเป็นหนึ่งเดียวกับกรุงศรีอยุธยานั่นเอง
😊สิ่งที่น่าสนใจ
- พระมงคลบพิตร พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย ปางมารวิขัย หน้าตัก 9.55 เมตร ความสูงไม่รวมฐานบัว 12.45 เมตร องค์พระมงคลบพิตรก่อด้วยอิฐหุ้มสำริด หลังจากเสียกรุงพระมงคลบพิตชำรุดหนักจนพระพาหา (แขน) ขวาหัก ซ่อมแซมครั้งแรกในสมัยพระยาโบราณราชธานินทร์โดยใช้ปูนปั้นจนมีพระองคาพยพพร้อมมูล ในการบูรณะองค์พระในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ใช้ปูนปั้นทาสีดำทั้งองค์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 สมเด็จพระญาณสังวรณ์ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เสด็จเป็นองค์ประธานหล่อทองพระมงคลบพิตรจำลอง แล้วทรงดำริให้หุ้มทองพระมงคลบพิตรองค์จริงทั้งองค์ด้วย พระมงคลบพิตรในปัจจุบันจึงเป็นทองสุขปลั่งงามพร้อมเป็นอย่างยิ่ง
- วิหารแกลบ วัดชีเชียง ด้านหน้าของวิหารมงคลบพิตรห่างออกไปราว 400-500 เมตร มีซากวิหารแกลบของวัดชีเชียงอยู่ โดยวิหารแกลบคือวิหารขนาดเล็กจนคนสามารถเข้าไปนั่งได้เพียงคนเดียว ดังนั้นแม้จะเชื่อกันว่าวัดชีเชียงเป็นที่ประดิษฐานเดิมของพระมงคลบพิตร แต่วิหารแกลบนี้ไม่มีทางที่จะเป็นที่ประดิษฐานพระมงคลบพิตร และเป็นไปได้ว่าท่านอยู่กลางแจ้งตามที่เชื่อกันมาแต่เดิมนั่นเอง https://www.talontiew.com/wihan-phra-mongkhon-bophit/
✿*゚‘゚・✿.。.:* .:。✿*゚’゚・•*.:。✿✲-•(¯`°.•°•.★* *★ .•°•.°´¯)*¤°•★ •:。.:* :。✿*゚¨゚✎・ ✿.
👉วัดธรรมิกราช (Wat Thammikarat)😊
👉วัดภูเขาทอง(Wat Phu Khao Thong) 😊
: เจดีย์ที่สูงที่สุดนอกเกาะเมืองและเป็นเจดีย์เดียวที่องค์เจดีย์เป็นทรงไทยบนฐานแบบพม่า ที่สมเด็จพระเนรศวรมหาราชทรงสร้างขึ้นเพื่อแสดงถึงการมีชัยเหนือพุกามประเทศ เยี่ยมชมรอยพญานาคในหอสวดมนต์และพบกับความยิ่งใหญ่อลังการของพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเนรศวรมหาราช
วัดภูเขาทองสถาปนาขึ้นในสมัยสมเด็จพระราเมศวร เมื่อปี พ.ศ. 1930 หลังจากเสียกรุงครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2112 พระเจ้าบุเรงนองโปรดให้สร้างเจดีย์ใหญ่วัดภูเขาทองเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะ บางตำนานว่าสร้างได้แค่ฐานเท่านั้น พระเนรศวรจึงต่อเติมองค์เจดีย์จนเสร็จ บางตำนานว่าสร้างเต็มองค์ แต่สมเด็จพระเนรศวรทรงสร้างองค์เจดีย์แบบไทยบนฐานแบบพม่าเพื่อเป็นการประกาศชัยชนะเหนือพม่า นั่นทำให้เจดีย์วัดภูเขาทองจึงเป็นเจดีย์เดียวในอยุธยาที่มีลักษณะผสมผสานแบบนี้
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองมีการสร้างเจดีย์รายเพิ่มเติม ต่อมาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดฯ ให้บูรณะเจดีย์ประธานและส่วนอื่นๆ ของวัด เชื่อกันว่าลักษณะของเจดีย์ประธานในปัจจุบันนี้เกิดจากการบูรณะในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เนื่องจากเจดีย์เพิ่มมุมนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งในสมัยนั้น
หลังจากเสียกรุงครั้งที่ 2 วัดภูเขาทองกลายเป็นวัดร้าง ภายในวัดประกอบไปด้วยซากกำแพงแก้ว วิหารเล็ก อุโบสถใหญ่ลายปูนปั้น เจดีย์ราย เจดีย์เล็กหน้าโบสถ์ 4 องค์ และพระเจดีย์ใหญ่ซึ่งเป็นปูชนียสถานสำคัญที่สุดของวัด โดยเจดีย์วัดภูเขาทองยังคงเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของสาธุชนเรื่อยมา
กรมศิลปากรได้ประกาศให้วัดภูเขาทองเป็นโบราณสถานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2478 ทว่าเจดีย์ประธานวัดภูเขาทองได้พังทลายลงไปในสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในปี พ.ศ. 2499 โดยหุ้มปลียอดด้วยทองคำ 2,500 กรัม เพื่อฉลองพุทธกาลครบ 2500 ปี และวัดภูเขาทองก็กลายเป็นวัดที่มีพระจำพรรษาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา
😊สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด
- เจดีย์วัดภูเขาทอง เจดีย์วัดภูเขาทองมีความสูง 90 เมตร นับเป็นเจดีย์นอกเกาะเมืองที่สูงที่สุด โดยในเกาะเมือง เจดีย์วัดไชยวัฒนารามสูงที่สุด โดยสูงกว่าเจดีย์วัดภูเขาทองเพียง 2 เมตรเท่านั้น เจดีย์วัดภูเขาทองเป็นเจดีย์เดียวในอยุธยาที่องค์เจดีย์เป็นศิลปะแบบไทยบนฐานศิลปะแบบพม่า ภายในองค์เจดีย์รกรมศิลปากรได้บูรณะจนมีความแข็งแรง นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปชมวิวจากด้านบนของเจดีย์ และสามารถเข้าไปสักการะพระพุทธรูปภายในเจดีย์ได้
- รอยพญานาค รอยพญานาคเป็นร่องรอยยาวคล้ายงูใหญ่เลื้อยผ่าน อยู่ที่หอสวดมนต์ของวัด รอยแรกปรากฏบนประตูและพื้นหน้าประตู รอยที่สองปรากฏบนผนังห้องด้านใน ทางวัดได้นำกระจกใสมาวางปิดไว้ป้องกันไม่ให้ผู้เยี่ยมชมบังเอิญสัมผัสกับรอยจนลบเลือน หลังจากเที่ยวชมรอยพญานาคแล้ว ในหอสวดมนต์ยังมีพระพุทธรูปปางนาคปรกและรูปเคารพพ่อปูพญานาคให้สาธุชนได้สักการะอีกด้วย
- พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเนรศวรมหาราช ด้านหน้าของวัด ห่างจากเจดีย์ใหญ่ไปประมาณ 900 เมตร มีพระบรมราชานุสาวรีย์พระเนรศวรมหาราชอยู่ โดยพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2538 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พระบรมราชานุสาวรีย์ออกแบบโดยกรมโยธาและผังเมือง แสดงพระราชประวัติตอนที่สมเด็จพระเนรศวรมหาราชทรงม้าออกสังหาร ‘ลักไวทำมู’ ทหารเอกพระเจ้าองสาวดี มุมทั้ง 4 ประดับด้วยเครื่องราชูปโภคสำคัญ ได้แก่ พระแสงปืนข้ามแม้น้ำสะโตง พระแสงดาบคาบค่าย พระมาลาเบี่ยง และพระแสงของ้าวที่ปลิดชีพพระมหาอุปราชในการกระทำยุทธหัตถี ฐานโดยรอบสลักภาพนูนต่ำเล่าพระราชประวัติสมเด็จพระเนรศวรมหาราช โดยภาพนูนต่ำเหล่านี้ออกแบบโดยคุณไข่มุก ชูโต ปติมากรประจำสำนักพระราชวัง https://www.talontiew.com/wat-phu-khao-thong/
✿*゚‘゚・✿.。.:*.:。✿*゚’゚・•*.:。✿✲-•(¯`°.•°•.★* *★ .•°•.°´¯)*¤°•★ •:。.:* :。✿*゚¨゚✎・ ✿.
👉ตลาดน้ำอโยธยา (Ayothaya Floating Market) 😊:
😊สิ่งที่น่าสนใจในตลาด
1.ตลาดน้ำ จำหน่ายอาหาร ขนมไทย และสินค้า OTOP มีสินค้าน่าสนใจ เช่น ลูกชิ้นยักษ์ หนึ่งไม้มีน้ำหนักครึ่งกิโลกรัม ของว่างประจำจังหวัดริมน้ำ อย่างกระจับก็ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีเครื่องดื่มสมัยใหม่อย่างสมูทตี้ผลไม้ เย็นฉ่ำชื่นใจ ไม่ใช่แค่ของกินเท่านั้น ที่นี่ยังมีเสื้อผ้า ของเล่น ของกระจุกกระจิก ของใช้ และของย้อนยุคขายอีกด้วย ที่น่าสนใจ เช่น กระเป๋าผ้าฝ้ายลายไทย กางเกงผ้าฝ้ายลายไทย สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่พาเด็กๆ ไปด้วย สามารถให้น้องๆ เล่นของเล่นที่สวนสนุกและบ้านบอล ในขณะที่คุณพ่อหรือคุณแม่ไปเดินเที่ยวชมตลาดได้เช่นกัน
2.กิจกรรมล่องเรือชมตลาด ที่คลองขุดรอบตลาดมีบริการนั่งเรือชมตลาดน้ำ โดยจะเป็นการนั่งเรือรอบคลอง แต่ไม่ได้เข้าไปในบึงขุดด้านในของตลาด สองฝั่งน้ำจะมีเรือนไทย กำแพงเมือง และสะพานไม้ข้ามคลอง ให้ความรู้สึกเหมือนเดินเข้ามาในกรุงเก่าขณะที่ยังเป็นราชธานี ค่านั่งเรือผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท
3.กิจกรรมให้อาหารปลา น้ำในบึงขุดของตลาดน้ำแห่งนี้ มีปลาสวายจำนวนมาก และมีจุดบริการให้อาหารปลา โดยไม่คิดค่าอาหาร มีเพียงกล่องรับบริจาคให้นักท่องเที่ยวหยอดเงินเล็กๆ น้อยๆ ลงไปเท่านั้น
4.ป้อนอาหารแพะ ควาย ปลา ที่ตลาดน้ำอโยธยาแห่งนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกกิจกรรมหนึ่ง คือ ป้อนนมแพะ ป้อนนมปลาคราฟ และป้อนหญ้าควายไทย ค่าอาหารทั้งหมดไม่มีการเก็บเงิน มีแต่ตู้บริจาคที่ตั้งไว้ให้นักท่องเที่ยวหยอดเงินค่าอาหารสัตว์ตามศรัทธาเท่านั้
5.คลอสเพล์ นี่ไม่ใช่การเปิดพื้นที่ให้นักท่องเที่ยวแต่งตัวมาประชันกัน แต่จะมีคนของตลาดน้ำแต่งตัวเป็นตัวละครไทย เช่น แม่นาคพระโขนง กระจายตามจุดต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูปกลับไปเป็นที่ระลึก นอกจากนี้ยังมีจักรยานวินเทจและของวินเทจอื่นๆ อีกด้วย
6.การแสดงพื้นบ้านประวัติศาสตร์ การแสดงพื้นบ้านประวัติศาสตร์ ประกอบไปด้วยการแสดงประวัติศาสตร์อยุธยา เช่น การรบกับพม่า อีกทั้งยังมีรำไทยที่พร้อมไปด้วยแสงสี
วันธรรมดามีการแสดงประวัติศาสตร์ 3 รอบ คือ เวลา 12.30 น., 14.30 น. ที่เวทีการแสดง และ 16.00 น. ที่ศูนย์วัฒนธรรม ส่วนวันเสาร์ – อาทิตย์มีการแสดงประวัติศาสตร์และรำไทย 7 รอบด้วยกัน คือ
- การแสดงประวัติศาสตร์ ที่เวทีการแสดง เวลา 12.00 น., 30 น. และ 15.00 น.,
- การแสดงประวัติศาสตร์ ที่ศูนย์วัฒนธรรม เวลา 17.00 น.
- การแสดงรำไทย ที่โซน เวลา 12.50 น.,14.20 น. และ 15.50 น.
นอกจากนี้ตลาดน้ำอโยธยายังมีการแสดงย่อมๆ ที่ริมน้ำ แต่เร้าใจ เพราะนักแสดงจะแต่งตัวพร้อมรบ แล้วใช้ดาบฟาดฟันกันจริงๆ ลงเรือไปสู้ก็มี สู้แพ้ตกน้ำก็มี สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก
กิจกรรมขี่ช้าง ติดกับตลาดน้ำอโยธยามีปางช้างอยู่แห่งหนึ่ง เรียกกันว่าปางช้างข้างวัดมเหยงค์ เดินตลาดเหนื่อยแล้วนักท่องเที่ยวสามารถออกมาขี่ช้างเดินชมบริเวณใกล้เคียงได้ โดยจะเดินไปถึงวัดช้างที่กรมศิลปากรประกาศให้เป็นโบราณสถาน เพื่อชมเจดีย์วัดช้าง หนึ่งในเจดีย์ไม่กี่แห่งในประเทศไทยที่มีช้างล้อมตามแบบเจดีย์ในลังกา และชมพระประธานปางมารวิชัยในซากวิหาร ก่อนกลับปางช้าง https://www.talontiew.com/ayothaya-floating-market/
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น